วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Collagen Gilife คอลลาเจนจีไลฟ์ สินค้าจากโรงงาน ขายส่ง ราคาถูก

Collagen Gilife  คอลลาเจนจีไลฟ์ 
 สินค้าจากโรงงาน  ขายส่ง ราคาถูก 
 ซื้อ 3 กล่อง แถมให้ฟรีอีก 1 กล่อง รวม 4 กล่อง

  ราคาเพียง 1,500.00  บาทเท่านั้น

 เฉลี่ย  375.00  บาท/กล่อง   

อย 12-1-09448-1-0257

จัดส่งฟรี ทางพัสดุไปรษณีย์ (ธรรมดา)

ติดต่อ คุณวัช
Mob.086-5747677
email: chai7196@hotmail.com

รับตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ



COLLAGEN GILIFE (คอลลาเจน จีไลฟ์)
คอลลาเจน เป็นโปรตีนที่เป็นโครงสร้างหลักของร่างกาย มีปริมาณ 1 ใน 3 ของโปรตีนในร่างกาย โครงสร้างโมเลกุลมีลักษณะเป็นเส้นเอ็นแข็งแรงและแผ่กว้าง มีความยืดหยุ่นซึ่งจะช่วยค้ำจุนผิวหนังและอวัยวะภายในไว้ กระดูกและฟันมาจากการรวมกันของ Mineral Crystals และคอลลาเจน คอลลาเจนเป็นโครงสร้างของร่างกาย ช่วยป้องกันและค้ำจุนเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน และจุดเชื่อมต่อกับโครงกระดูก
คอลลาเจน พบได้โดยทั่วไปของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง กล้ามเนื้อ เอ็นข้อต่อและกระดูก เส้นใยคอลลาเจนจะสานกันเหมือนเส้นใยที่ถักทอกันเป็นเนื้อผ้า และจะเป็นโครงร่างแหที่เซลล์ใหม่ๆจะเจริญเติบโตได้ ในผิวหนัง คอลลาเจนจะเป็นเนื้อหนังที่ให้ความยืดหยุ่นของโครงร่าง คอลลาเจนในผิวหนังมนุษย์มีลักษณะเหมือนกับคอลลาเจนที่พบในสัตว์ จึงเป็นเหตุผลที่มนุษย์สามารถใช้คอลลาเจนจากสัตว์ได้
คอลลาเจนชนิดต่างๆในร่างกาย
คอลลาเจนเป็นสารที่อยู่ทุกที่ในร่างกายเรา เป็นเส้นใยในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อเกี่ยวพันนี้เป็นร่างกายและอวัยวะภายในของเรา เพื่อให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของคอลลาเจน รายการต่อไปนี้เป็นชนิดของคอลลาเจนซึ่งถูกรวบรวมไว้เป็น 4 กลุ่ม จากคอลลาเจนมากกว่า 19 ชนิด
กลุ่ม 1 เกี่ยวกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของผิวหนัง กระดูก ฟัน เอ็นข้อต่อ ส่วนห่อหุ้มอวัยวะ
กลุ่ม 2 เป็นข้อต่อกระดูกอ่อน
กลุ่ม 3 เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของอวัยวะ (ตับ ม้าม ไต และอื่นๆ)
กลุ่ม 4 การแบ่งชั้นระหว่างเซลล์ epithelial และ เซลล์ endothelial เช่นเดียวกันกับโครงกระดูกกับเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ กลุ่มไต lens capsule และ Schwann กับเนื้อเยื่อประสาทส่วนกลางของระบบประสาท
การสูญเสียคอลลาเจน
ตั้งแต่อายุ 25 ปีขึ้นไป ร่างกายคนเราจะสูญเสียคอลลาเจนไป 1.5 % ทุกๆ ปี (เช่นอายุ 35 ปีจะสูญสลายไป 15 % อายุ 45 ปีจะสูญสลายไป 30 % เป็นต้น) เมื่อคนเรายิ้ม ขมวดคิ้ว หรี่ตาหรือกะพริบตา จึงมีริ้วรอยปรากฏบนใบหน้า ชั้นผิวคอลลาเจนนอกจากจะเปลี่ยนไปตามอายุแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก คือ สิ่งแวดล้อมและพันธุกรรม ในผู้สูงอายุกล้ามเนื้อจะเริ่มอ่อนแอและบาดเจ็บได้เมื่อล้ม เนื่องจากกล้ามเนื้อไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองที่ดี อัตราการเสียหายของกล้ามเนื้อเกิดขึ้นร้อยละ 1 ต่อปี
กล้ามเนื้อของผู้หญิง เช่นเดียวกับกระดูก โดยทั่วไปมีลักษณะเล็กกว่าของผู้ชาย คอลลาเจนจะเป็นตัวช่วยที่สำคัญในข้อแตกต่างนี้ ผลิตภัณฑ์คอลลาเจนถูกผลิตขึ้นมาเพื่อกระตุ้นการผลิตคอลลาเจน และทดแทนคอลลาเจนที่สูญเสียไปในแต่ละปี
คอลลาเจนกับผิวหนัง
คอลลาเจนคือเส้นใยโปรตีน เป็นส่วนประกอบของผิวหนัง กระดูกอ่อน กระดูกและเนื้อเยื่อเกี่ยวกันต่างๆ คอลลาเจนเป็นส่วนประกอบหลักของเครือข่ายชั้นผิวหนัง มากกว่า 1 ใน 3 ของโปรตีนในร่างกาย คือคอลลาเจน จัดเป็นจำนวนที่สูงมากและเป็น 70 % ของผิวหนังคนเรา ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ผิวหนังประกอบด้วยชั้นผิว 3 ชั้น ชั้นแรก คือ หนังกำพร้าเป็นหนังส่วนที่อยู่นอกสุดของชั้นผิวหนัง ประกอบด้วยเซลล์ที่เรียกว่า epithelial cells ชั้นถัดมา คือ ชั้นที่อยู่ต่ำกว่าชั้นหนังกำพร้าลงไป ประกอบด้วยเส้นเลือด ต่อมน้ำเหลือง ต่อมเหงื่อ ต่อมขนและต่อมไขมัน เป็นต่อมที่ผลิตไขมันเพื่อป้องกันแบคทีเรีย ชั้นที่สามเป็นชั้นที่สนับสนุนการทำงานของชั้นเนื้อเยื่อไขมัน ผิวหนังจะยังคงความอ่อนนุ่มและยืดหยุ่นตราบเท่าที่ยังคงรักษาความชุ่มชื้นได้มากกว่า 10 % ถ้าผิวหนังแห้งมากจะมีลักษณะบวมแดง อักเสบ ผิวหนังชั้นนอกจะมีลักษณะหยาบ เปราะบาง ไม่สดใส จึงต้องใช้โลชันและครีมบำรุงผิวเป็นตัวช่วยในการรักษา ความชุ่มชื้นในชั้นที่ต่ำกว่าชั้นผิวหนังชั้นนอกสุดจะเสื่อมสภาพไปตามอายุ ซึ่งไม่ใช่ขาดเฉพาะความชุ่มชื้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการลดลงของ Polypeptides เช่น Elastin และคอลลาเจน
ผลดีจากการทานคอลลาเจน
สำหรับผิวพรรณ
- ช่วย บำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่นอยู่เสมอ
-
 ช่วย บำรุงผิวพรรณที่แห้งกร้านและถูกทำลาย
-
 ช่วย ให้ผิวพรรณกระชับ เปล่งปลั่ง เนียนนุ่ม ดูอ่อนกว่าวัย
-
 ช่วย ให้ฝ้า กระ จางลง
-
 ปกป้องรังสียูวีที่รบกวนผิวจากแสงแดด
สำหรับผม และเล็บ
-
 บำรุง สุขภาพผม เล็บ และสายตา
-
 เพิ่ม ความแข็งแรงให้เล็บที่ผิดปกติ
-
 เพิ่มความหนาของเส้นผม ลดการหลุดร่วง และเพิ่มความแข็งแรงให้เส้นผม อย่างที่ได้รู้สึกได้
คอลลาเจน กับ โรคข้อต่อต่างๆ
90 % ของการสร้างกระดูก คือ คอลลาเจน
โรคกระดูกพรุน คือ โรคข้อที่แสดงความรุนแรงขึ้น แสดงถึงภาวะการณ์เสื่อมโทรมลงของข้อต่อกระดูกอ่อน (เนื้อเยื่อเกี่ยวพันขาดความยืดหยุ่น แข็ง) ซึ่งเกิดจากการเสียดสีของข้อต่อ ทำให้เจ็บปวดและเสียการทรงตัว ความเสื่อมของข้อต่ออาจจะมาจากธรรมชาติและเสื่อมลงตามอายุขัย น้ำหนักเกินหรืออ้วนมากเกินไป ความรุนแรงที่กดทับกระดูกอ่อน ความผิดปรกติของข้อต่อหรือเส้นเอ็น และการติดเชื้อหรือการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท
คอลลาเจน ไฮโดรไลเซท คืออะไร
คือคอลลาเจนที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก ดูดซึมง่าย และเป็นโปรตีนที่มีความยืดหยุ่น เรียกว่า Elastic Fiber ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนหลายชนิด ที่สำคัญ ได้แก่ ไกลซีน โปรลีน และไฮดรอกซี่โปรลีน มีความสำคัญยิ่งต่ออวัยวะในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกอ่อน กระดูก เหงือก ฟัน ตา ผิวหนัง และหลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งคอลลาเจนนี้จะช่วยให้โครงสร้างของร่างกายให้แข็งแรง และมีความยืดหยุ่นดี ที่สำคัญ คอลลาเจนไฮโดรไลเซท ยังเป็นคอลลเจนชนิดเดียวที่กระตุ้นให้มีการสังเคราะห์ collagen type II ที่มีความสำคัญในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนบริเวณข้อมากว่า คอลลาเจนชนิดอื่น ทำให้การรับน้ำหนักและการเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างปกติ
 ทำไมคอลลาเจนไฮโดรไลเซทจึงมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน
นักวิจัยแนะนำว่า คอลลาเจนไฮโดรไลเซท สามารถกระตุ้นการสังเคราะห์คอลลาเจน ซึ่งมีความสำคัญในการคงสุขภาพที่ดีของข้อต่อไว้ อีกทั้ง คอลลาเจนไฮโดรไลเซทสามารถถูกดูดซึมได้อย่างรวดเร็วในลำไส้เล็ก โดยปริมาณสารอาหารสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า นักวิจัยพบว่าคอลลาเจนไฮโดรไลเสทที่มีอยู่ในเซลล์เพาะเลี้ยง สามารถกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนได้ เมื่อเปรียบเทียบกับคอลลาเจนที่เกิดขึ้นโดยเซลล์ธรรมชาติ จะไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดผลดังกล่าวได้ เช่นเดียวกับในเนื้อเยื่อค้ำจุน แสดงให้เห็นว่าคอลลาเจนไฮโดรไลเซทสามารถลดการเสื่อมของเนื้อเยื่อข้อต่อได้
สำหรับคนที่เป็นข้อเสื่อมให้ รับประทานในขนาดวันละ 10 กรัม เป็นเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป จะพบว่าไม่เพียงแต่ คอลลาเจน ไฮโดรไลเซท จะสามารถเข้าไปทดแทนในเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนได้ ยังไปกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์คอลลาเจน Type II ที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในกระดูกอ่อนในข้อเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย โดยอาการปวดข้อและข้อยึดนั้นลดน้อยลง เมื่อรับประทานคอลลาเจนตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป และช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อดีขึ้น นอกจากจะลดปัญหาของเรื่องข้อเสื่อมแล้ว คอลลาเจน ไฮโดรไลเซท ยังมีประโยชน์ในผู้มีปัญหาเรื่องกระดูก เช่น ในผู้หญิงวัยทองที่จำเป็นต้องเสริมแคลเซียม และจำเป็นต้องใช้ยาที่ป้องกันการสลายของแคลเซียมจากกระดูก เมื่อรับประทานคอลลาเจน ไฮโดรไลเซท ร่วมด้วย พบว่ามีส่วนหรือมีผลทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น และลดการสลายแคลเซียมจากกระดูกได้ดีกว่าการใช้ยาแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น นอกเหนือจากการช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงและเนื้อเยื่อต่างๆแข็งแรงขึ้นอีกด้วย จึงเป็นข้อดีของการเสริมคอลลาเจน
คอลลาเจน กับการป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
เส้นเลือดแดงที่ปกติจะมีลักษณะดังที่เห็นในรูป สังเกตได้ว่าเส้นเลือดแดงจะไม่มีสารสะสมบนผิว ชั้นคอลลาเจนและเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อจะไม่เสื่อมสภาพ ไม่เปลี่ยนแปลงและแข็งแรงมาก จุดประสงค์ที่มีชั้นคอลลาเจนก็เพื่อป้องกันเส้นเลือดแดงแตกหัก เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆชั้นคอลลาเจนจะเป็นตัว ช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดเป็นไปด้วยดี
การเกิดโรคหัวใจ
ทันทีที่มีสารสะสมขึ้นที่ผิวของเส้นเลือดแดง นั่นก็คือ การเริ่มต้นของการเป็นโรคหัวใจแล้ว สาเหตุมาจากคอลลาเจนที่ไม่เพียงพอ คอลลาเจนที่อยู่รายรอบเส้นเลือดแดงจะคอยป้องกันเส้นเลือดไว้ เมื่อเส้นเลือดเริ่มสูญเสียคอลลาเจน จะปรากฏบาดแผลและรอยแตกหักเล็กๆ เมื่ออาการเหล่านี้ปรากฏชัดขั้น ร่างกายเราจะรู้เองว่า นี่เป็นปัญหาและจะทำการซ่อมแซมตัวเองโดยเร่งด่วน ถ้าเส้นเลือดอ่อนแอเนื่องจากขาดคอลลาเจน จะปรากฏรอยแตกหักและบาดแผล ร่างกายจะประสานแผลด้วยเกล็ดจาก Lipoprotein เกล็ดสารนี้เป็นสารที่มีความเหนียว เป็นพวกโปรตีนความหนาแน่น นั่นก็คือ คอเลสเตอรอล ทุกครั้งที่ปรากฏรอยแตกขึ้นที่ผิวเส้นเลือดแดง ร่างกายจะใช้เกล็ดสารจาก Lipoprotein มาสมานและป้องกันเส้นเลือดแดง แต่นั้นก็จะทำให้การไหลเวียนของเส้นเลือดแดงอยู่ในวงจำกัดด้วย คุณก็จะเริ่มเป็นโรคหัวใจ
> ส่วนประกอบสำคัญใน 1 แคบซูล (500มก.) ประกอบด้วย

คอลลาเจน จากปลา
คอลลาเจนไฮโดรไลเซท (400 มก.)
ใน 1 กล่อง มี 60 แคปซูล รับประทานได้นานประมาณ 3-4 สัปดาห์

วิธีรับประทาน
รับประทานวันละ 2-4 แคปซูล

คำเตือน
เด็กและสตรีมีครรภ์ ไม่ควรรับประทาน  ควรกินอาหาร หลากหลายครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ   ไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค


การเก็บรักษา    เก็บในที่แห้งและพ้นจากแสงแดด (มีซองวัตถุกันชื้น)


ติดต่อ คุณวัช
Mob.086-5747677
email: chai7196@hotmail.com









วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

เป็นข้อต่ออักเสบ ควรออกกำลังกายอย่างไร



คนที่มีข้อต่ออักเสบ หรือ ข้อเข่าเสื่อม อากาศเย็นอาจจะไปกระตุ้นให้มีอาการเจ็บและปวดมากขึ้นได้ อาการของข้ออักเสบ (Arthritis) ที่พบได้บ่อยในปัจจุบันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) ซึ่งเกิดจากการที่กระดูกอ่อนบริเวณนั้นเสื่อมและถูกทำลายลง ทำให้ปวด เกิดการยึดติดของข้อต่อทำให้เคลื่อนไหวลำบาก และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่บริเวณข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อเท้า หรือที่ข้อมือก็ได้ ส่วนอีกกลุ่มเรียกว่า ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) ซึ่งเป็นโรคที่มีการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ สามารถเป็นพร้อมๆ กันได้หลายข้อ และส่วนใหญ่จะเป็นเหมือนกันทั้งสองข้าง แต่ที่สำคัญ คือ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อาจจะรุนแรงถึงขั้นทำให้ข้อต่อผิดรูปไปจากเดิม รวมถึงอาจมีการอักเสบและติดเชื้อไปที่อวัยวะที่สำคัญอื่นๆ เช่น ปอด และหัวใจ เป็นต้น

ก่อนหน้านี้คนที่มีอาการของข้อเสื่อมและอักเสบจะ ได้รับคำแนะนำให้พักมากๆ ลดกิจวัตรประจำวันต่างๆ ให้น้อยลง ซึ่งจะยิ่งทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวน้อย ขาดความยืดหยุ่น เกิดการยึดติดของข้อต่อและมีอาการปวดมากขึ้น กล้ามเนื้อก็แข็งแรงทนทานลดลง ในบางคนกล้ามเนื้อบริเวณนั้นถึงกับฝ่อลีบ และไม่มีแรงไปเลย รวมถึงประสิทธิภาพการทำงานของ ระบบหัวใจและปอดก็จะลดลง ทำให้เหนื่อยง่าย กังวลและเครียดตามมา แต่ในปัจจุบันนี้ จากการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ที่ความหนักตั้งแต่ระดับต่ำ (Low-intensity) ไปจนถึงระดับปานกลาง (moderate-intensity) จะช่วยให้อาการต่างๆ ของคนที่เป็นโรคข้ออักเสบดีขึ้น รวมถึงได้ความมั่นใจคืนกลับมามากขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยลดและป้องกันปัจจัยเสี่ยง ต่อพยาธิสภาพของโรคที่ตามมาด้วย


ข้อแนะนำการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic Training)

จุด ประสงค์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิค เพื่อให้ระบบการทำงานของหัวใจ และปอดแข็งแรงขึ้น สามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้ โดยไม่เหนื่อยง่ายและปวดที่ข้อต่อ ช่วยลดความเครียด ความกังวล และเพิ่มความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น

• ก่อนที่จะเริ่มต้นออกกำลังกายควรปรึกษาแพทย์ก่อน

• เน้นการออกกำลังกายที่ไม่ลงน้ำหนักที่ขา (non-weight-earing)
เช่นการปั่นจักรยาน กรรเชียงบก (rower machine) เครื่อง elliptical
trainer ว่ายน้ำ รวมถึงการเดินหรือออกกำลังกายในน้ำ (aquatic
exercise) เป็นต้น

• ถ้าเป็นไปได้ควรออกกำลังกายโดยใช้อุปกรณ์หลายๆ รูปแบบ
เพื่อป้องกันการเสื่อมหรืออักเสบของข้อต่อจากการใช้งานซ้ำๆ ตลอดเวลา

• หลีกเลี่ยง การออกกำลังกายแบบมีแรงกระแทกสูง (high-impact) เช่น จ๊อกกิ้ง วิ่งขึ้น-ลงบันได และการเต้นแอโรบิค (บางรูปแบบ) เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ข้อต่อเสื่อมหรืออักเสบมากขึ้น

• สามารถเริ่มออกกำลังกายได้ตั้งแต่ 5 นาทีไปจนถึง 30 นาที ขึ้นอยู่กับความฟิตสมบูรณ์ของร่างกาย และลักษณะอาการของโรค

• ความหนักของการออกกำลังกายควรอยู่ในช่วง 60% - 80% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด

• สามารถออกกำลังกายได้บ่อยประมาณ 3–5 ครั้ง ต่อสัปดาห์

• เมื่อกล้ามเนื้อต่างๆ แข็งแรงมากขึ้นแล้ว และต้องการเพิ่มความยากของการออกกำลังกาย ควรปรับเปลี่ยนโดยการเพิ่มระยะเวลา ก่อนที่จะเพิ่มความหนักของการออกกำลังกายต่อไป

• หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงที่ ข้อต่ออักเสบ และปวดมาก

ข้อแนะนำการออกกำลังกายแบบยกน้ำหนัก (Resistance Training)

การ ออกกำลังกายในลักษณะนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อ รอบๆ ข้อต่อที่เสื่อมหรืออักเสบมีความแข็งแรงและทนทานมากขึ้น ช่วยให้ข้อต่อสามารถรับน้ำหนักตัวหรือแรงกระแทกที่เกิดจากการทำกิจวัตรประจำ วันต่างๆ ได้อย่างมั่นคงแข็งแรงมากขึ้น

• ก่อนที่จะเริ่มต้นออกกำลังกายควรปรึกษาแพทย์ก่อน

• ควรทำการอบอุ่นร่างกายก่อนอย่างน้อย 5–10 นาที

• หลีกเลี่ยงท่าออกกำลังกายที่จะทำให้เจ็บมากขึ้น และไม่ควรออกกำลังกายเกินกว่าหรือถึงจุดที่มีอาการเจ็บ

• เริ่มจากยกน้ำหนักประมาณ 2–3 ครั้ง (reps) ในแต่ละเซต แล้วค่อยๆ เพิ่มไปจนถึง 10–12 ครั้ง (reps) ในแต่ละเซต

• หลีกเลี่ยงการยกน้ำหนักซ้ำๆ มากครั้ง และน้ำหนักที่หนักมากเกิน เพราะจะทำให้ข้อต่อเกิดการอักเสบได้ง่าย

• สามารถออกกำลังกายได้บ่อย 2–3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ แต่จะต้องมีระยะเวลาพักระหว่างการออกกำลังกายในแต่ละครั้ง อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนที่จะเริ่มครั้งต่อไป

• การออกกำลัง กายในลักษณะนี้สามารถใช้ได้ทั้ง weight-machine, free-weight, elastic bands หรือน้ำหนักตัว (body weight) ก็ได้ รวมถึงการออกแรงในลักษณะเกร็งกล้ามเนื้อค้างเอาไว้ ถ้ารู้สึกเจ็บข้อต่อจากการเคลื่อนไหว

• หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงที่ข้อต่อมีการอักเสบและมีอาการปวดมากๆ

ข้อแนะนำการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น (Flexibility)

• การยืดกล้าม เนื้อและข้อต่อต่างๆ จะช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น และช่วยลดปัญหาการยึดติดของข้อต่อ ซึ่งรวมถึงช่วยลดอาการปวดที่จะเกิดขึ้นในขณะเคลื่อนไหว

• ควรอบอุ่นร่างกายแบบแอโรบิคก่อนอย่างน้อย 5 – 10 นาที ก่อนที่จะยืดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย

• สามารถยืดกล้ามเนื้อได้ทุกวันโดยการยืดค้างไว้ อย่างน้อย 10 – 30 วินาที ในแต่ละครั้ง

• การยืดกล้ามเนื้อสามารถทำได้ 1 – 4 ครั้งในแต่ละท่า หรือกลุ่มของกล้ามเนื้อ

• กล้ามเนื้อ มัดหลักๆ ที่มักจะยืดหยุ่นน้อยที่ควรเน้น ได้แก่ กล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนล่าง (lower back) ต้นขาด้านหลัง (ham-strings) บริเวณข้อสะโพก (hip flexor) น่อง (calf) และหัวไหล่ (deltoid)

การ ออกกำลังกายให้ได้ผลดีและปลอดภัยนั้น ควรปรึกษาแพทย์ นักกายภาพบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกกำลังกายก่อนเสมอ จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่แข็งแรงและลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง

แหล่งข้อมูล : นิตยสาร HealthToday


คลิ๊ก !!!!! อ่านบทความ หรือหนังสือดี ๆเพิ่มเติม ด้านล่างนี้
สำนักพิมพ์โฟกัส
โรคข้อเข่าเสื่อม
น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว
       

เคล็ด(ไม่)ลับ...โรคนอนไม่หลับ



เคล็ด(ไม่)ลับ...โรคนอนไม่หลับ

ใครที่เคยมีอาการเข้านอนแล้วหลับยาก หรือตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อไม่ได้หรือตื่นเช้ามืดกว่าปกติแล้วหลับต่อไม่ได้ หรือ หลับๆ ตื่นๆ ทั้งคืน ระวังเสี่ยงเป็นโรคนอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับ เป็นอาการอย่างหนึ่งที่พบได้ในโรคทางกายหลายชนิด โรคทางจิตเวชหลายโรค หรือ อาจมีสาเหตุจากยาบางชนิด จากสารบางอย่างที่ออกฤทธิ์กระตุ้นสมอง เช่น สารคาเฟอีนที่มีอยู่ในชา กาแฟ น้ำอัดลมที่มีสีดำ (เช่น โคล่า แป๊บซี่) เครื่องดื่มชูกำลังหลายยี่ห้อ นอกจากนี้การดื่มสุราอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานก็จะทำให้นอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่ เข้านอนแล้วหลับยาก หรือ ตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อไม่ได้ หรือ ตื่นเช้ามืดกว่าปกติแล้วหลับต่อไม่ได้ หรือ หลับๆ ตื่นๆ ทั้งคืน ซึ่งผู้ที่นอนไม่หลับหรือหลับไม่เพียงพอ มักจะมีอาการอ่อนเพลียในตอนกลางวัน สมองไม่ปลอดโปร่ง อาจหงุดหงิด อาจง่วงซึม หรือหลับมากในตอนกลางวัน ประสิทธิภาพในการเรียน การทำงานลดลง นอกจากนี้อาจมีอาการของโรคต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุของอาการนอนไม่หลับด้วย เช่น ตอนกลางคืนนอนกรนเสียงดัง หรืออาจหยุดหายใจเป็นพัก ๆ หรืออาจมีอาการของโรคซึมเศร้า คือรู้สึกซึม เศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ หดหู่ เบื่ออาหาร เบื่อชีวิต คิดอยากตาย
วิธีการดูแลตัวเอง เพื่อให้นอนหลับฝันดีไปตลอดทั้งคืน
1. เริ่มแรก ค้นหาสาเหตุ และกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ถ้าเจ็บป่วยด้วยโรคทางกาย หรือโรคทางจิตเวช ก็ต้องรักษาโรคเหล่านั้นให้ดีขึ้น อาจใช้ยาช่วยให้นอนหลับในช่วงเริ่มต้นและใช้ยาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เมื่อความเจ็บป่วยทางร่างกายหรือความเจ็บป่วยทางจิตเวชดีขึ้น อาการนอนไม่หลับก็จะหมดไป และสามารถนอนหลับได้ดีขึ้น
2. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้วจะช่วยให้ระบบทำงานต่าง ๆ ในร่างกายดีขึ้น ยกเว้น ก่อนนอน แต่อาจเปลี่ยนเป็นการดื่มนมอุ่น ๆ 1 แก้ว หรือรับประทานกล้วย 1 ผล ก็ช่วยให้หลับได้ดีขึ้น
3. ห้องนอน ควรใช้สีอ่อน ๆ ดูสบายตาในการตกแต่ง อย่าง สีโทน Pastel จัดห้องนอนให้เหมาะแก่การนอนหลับ เช่น ไม่ร้อนเกินไป ไม่หนาวหรือเย็นเกินไป ไม่ให้มีเสียงดังอึกทึก ควรมีบรรยากาศที่สงบเงียบ อาจมีเสียงเพลงเบาๆ เป็นต้น และควรใช้ห้องนอนสำหรับการนอนเท่านั้น ไม่ใช้ห้องนอนทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น รับประทานอาหาร เล่นเกมส์ต่างๆ ร่วมกัน
4. มื้อเย็นควรหลีกเลี่ยง อาหารรสเผ็ดจัด มิฉะนั้นอาจเกิดอาการจุดเสียดปวดท้องและทำให้นอนไม่หลับได้
5. การออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนักในตอนเย็น หรือก่อนนอน ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในตอนเช้า สัปดาห์ละ 3-4 วัน วันละ 20-30 นาที จะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น และหลับได้ดีขึ้นในตอนกลางคืน การออกกำลังกายแต่พอเหมาะจะทำให้ดีต่อสุขภาพและช่วยให้หลับสบาย แต่ทางที่ดีควรทำให้เสร็จก่อนนอน 3 ชั่วโมง ไม่งั้นอาจทำให้ประสาทตื่นตัวและนอนไม่หลับได้
6. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่กระตุ้นสมอง เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลมที่มีสีดำ (เช่น เป๊ปซี่ โคล่า) เครื่องดื่มชูกำลังต่าง ๆ ในตอนบ่าย ตอนเย็น หรือช่วงก่อนนอน แน่นอนว่าเครื่องดื่มเหล่านี้มีส่วนทำให้นอนไม่หลับเนื่องจากมีคาเฟอีนอยู่ คนที่นอนไม่ค่อยหลับ ไม่ควรดื่มแต่ถ้าห้ามใจไม่ได้ก็ดื่มแบบไม่มีคาเฟอีนดีกว่า
7. วิตามิน ซี ดี บีรวม และแคลเซียมมีผลต่อระบบประสาท ทั้งยังช่วยลดความกระวนกระวายได้
8. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ทั้งสุรา เหล้า เบียร์ ไวน์ อย่างต่อเนื่องทุกวัน เพราะมีสารเคมีที่ออกฤทธิ์ต่อสมองทำให้นอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิทได้ในกรณีที่ดื่มติดต่อกันนานๆ ถ้าทำได้อาจช่วยให้ง่วงและนอนหลับได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าดื่มจะส่งผลต่อประสาทและอาจทำให้ฝันร้ายได้
. จิตใจฟุ้งซ่าน ย่อมทำให้นอนไม่หลับ ลองนั่งสมาธิ หรือทำโยคะดูจะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น หรือจะนอนนับแกะก็ได้
10. หลีกเลี่ยงการดูภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ หรือเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ที่ตื่นเต้นในช่วงก่อนเข้านอน
11. ถ้าเข้านอนไปแล้วประมาณ 20-30 นาที ยังนอนไม่หลับ ไม่ควรข่มตาให้หลับ ควรจะลุกออกจากเตียงไปทำกิจกรรมเบาๆ ที่ส่งเสริมให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น เช่น อ่านหนังสือผ่อนคลายสมอง อ่านหนังสือบันเทิง ฟังเพลงเย็นๆ อ่านหนังสือธรรมะ ฟังเทปธรรมะ เป็นต้น
12. พยายามตื่นนอนให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน รวมถึงวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดต่างๆ ด้วย วิธีนี้จะช่วยให้วงจรการหลับ-การตื่นของคนเราให้ทำงานได้ดี ไม่เกิดปัญหา
13. ยาช่วยให้นอนหลับ ควรรับประทานเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ไม่ควรใช้ยาต่อเนื่องนานเกิน 2-6 สัปดาห์ เพราะอาจทำให้ติดยา เกิดภาวะดื้อยา ต้องพึ่งยาตลอดไป อาจทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม หรือความจำถดถอยลงได้
ถ้าคุณอยากหลับสบายทั้งคืน คุณลองสังเกตและลดพฤติกรรมที่จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคนอนไม่หลับ เพียงแค่นี้คุณก็จะนอนหลับสบายทั้งคืน แถมยังมีสุขภาพที่ดีตามมาด้วย....


ขอขอบคุณ http://www.kapook.com

คลิ๊ก !!!!! อ่านบทความ หรือหนังสือดี ๆเพิ่มเติม ด้านล่างนี้
สำนักพิมพ์โฟกัส
โรคข้อเข่าเสื่อม
น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว

"มะเฟือง" ส่งผลทำให้มีอันตรายถึงชีวิตจากภาวะไตวายเฉียบพลัน




มะเฟือง...พิษ มะเฟืองถึงตาย ผู้ป่วยไตกลุ่มเสี่ยง หลายเสียงเล่าลือกันถึงเรื่องของพิษที่มีอยู่ใน..."มะเฟือง" ส่งผลทำให้มีอันตรายถึงชีวิตจากภาวะไตวายเฉียบพลัน

เพื่อ ให้คลายสงสัย รศ.นายแพทย์ ม.ล.ชาครีย์ กิติยากร อายุรแพทย์ หน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความกระจ่างว่า...

มะเฟืองเป็นผลไม้เขตร้อนที่คนไทยรู้จักมา เนิ่นนาน แต่ในจำนวนคนไทย 67 ล้านคน มีน้อยคนนักที่จะทราบว่า...พิษของมะเฟืองมีผลต่อสุขภาพของไต และ...อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้

คุณหมอชาครีย์ บอกว่า "ไต"... เป็นอวัยวะหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อระบบในร่างกายข องเรา มีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วเหลือง มี 2 ข้างอยู่บริเวณบั้นเอว
ไตเป็น ส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ ส่วนที่ต่อจากท่อไต (URETER) ซึ่งจะนำปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ และเข้าสู่ท่อปัสสาวะ (URETHRA) ในเพศชาย จะมีต่อมลูกหมากอยู่โดยรอบท่อปัสสาวะ


หน้าที่สำคัญของไต

หนึ่ง...ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการแตกตัวของโปรตีน ในอาหารออกจากร่างกาย

สอง...รักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ กรดและด่างของร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

สาม...ควบคุมความดันโลหิต

สี่...สร้างฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก

ความ หมายของภาวะไตวาย คือ ภาวะที่มีการสูญเสียการทำงานของไต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

ชนิด แรก...ไตวายเรื้อรัง คือการสูญเสียการทำงานของไต ที่เป็นไปอย่างช้าๆ และถาวร ช่วงเวลาอาจตั้งแต่ 1-2 ปี จนถึง 10 ปีขึ้นไป จนในที่สุดเข้าสู่ภาวะสุดท้ายของไตวาย (END STAGE RENAL FAILURE)
ซึ่งหมายถึง ภาวะที่ต้องการการรักษาแบบทดแทน เช่น ฟอกเลือด, เปลี่ยนไตเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้

ชนิด ที่สอง...ไตวายเฉียบพลัน ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นชั่วโมง หรือ เป็นวัน ทำให้เกิดการคั่งของของเสียทำให้เกลือแร่ กรด ด่างและการควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายผิดปกติ "ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีปริมาณปัสสาวะต่อวันน้อย กว่า 400 ซีซี"

คุณ หมอชาครีย์ บอกอีกว่า สาเหตุของไตวายเฉียบพลัน มีหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่ เกิดจากความผิดปกติของการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย...การอุดตัน ผู้ป่วยที่ช็อก จากการติดเชื้อ, เสียเลือดจำนวนมากหรือขาดน้ำอย่างรุนแรงจากท้องเสีย

การใช้คำว่า "เฉียบพลัน" นอกจากบ่งถึงช่วงเวลาระยะสั้นที่เกิดขึ้นแล้ว ยังบ่งถึงความเป็นไปได้ ที่ไตจะกลับสู่ภาวะปกติได้

คนไทยรู้จักมะเฟืองมานาน นิยมรับประทานเป็นผลไม้สด หรือคั้นเป็นน้ำผลไม้ หรือรับประทานผลดิบเป็นผัก เช่น ในอาหารเวียดนาม

"ใน บ้านเรามีรายงานเกี่ยวกับคนไข้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันหลังการรับประทานผลสด หรือน้ำมะเฟืองจำนวนมาก...เนื่องจากมะเฟืองเป็นพืชที่มีสารออกซาเลตสะสมอยู่ เป็นจำนวนมาก ปกติแล้วออกซาเลตสามารถละลายและถูกดูดซึมได้อย่าง อิสระ แล้วถูกขับออกทางไต
โดยสาเหตุของไตวายเฉียบพลันนั้น เพราะไตเป็นแหล่งที่มีสารต่างๆหลายชนิด เมื่อสารออกซาเลตในมะเฟืองจับตัวกับแคลเซียมที่อยู่ในไต จะกลายเป็น...ผลึกนิ่วออกซาเลต ผลึกนิ่วจำนวนมากตกตะกอน หรืออุดตันในเนื้อไต และท่อไต...ทำให้ไตวายหรือสูญเสียการทำงานไป"

แต่กระนั้น...การเกิดภาวะไตวายไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยทุกราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ปริมาณที่รับประทาน และภาวะพร่องหรือขาดน้ำในผู้ป่วย

หน่วย โรคไต โรงพยาบาลรามาธิบดี เคยพบกรณีคนไข้ในประเทศไทยมีอาการไตวายเฉียบพลัน จากการได้รับภาวะพิษจากการรับประทานผลมะเฟือง และได้ส่งรายงานไปต่างประเทศ

ผู้ ป่วยที่มีภาวะพิษต่อไต...เกิดขึ้นในหลายชั่วโมงถัดมา หลังรับประทานผลมะเฟือง ผู้ป่วยจะมาด้วยภาวะไตวายเฉียบพลัน กล่าวคืออาจจะมีปัสสาวะออกน้อยลง, บวมน้ำ,ความดันโลหิตสูงขึ้น, น้ำท่วมปอด, อ่อนเพลีย

หรือ...บางรายอาจมาด้วยอาการสะอึก เนื่องจากของเสียในร่างกายคั่ง จากการที่ไตไม่สามารถขับของเสีย และน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายได้
และ...อาจจะต้องได้รับการฟอกเลือดล้างไตในที่สุด

พบ ด้วยว่า ถ้ามีภาวะไตวายเฉียบพลันเกิดขึ้น หลังหยุดรับประทานมะเฟืองผู้ป่วยเดิมที่มีไตปกติ กว่าไตจะกลับมาทำงานได้ตามปกติอาจใช้เวลานาน ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แต่หากเป็นผู้ป่วยที่มีโรคไตเดิมอยู่ก่อนแล้ว การทำงานของไต อาจจะดีขึ้นบ้าง แต่ไม่กลับมาเท่าเดิม และอาจจะต้องฟอกไตถาวร

ผลการ ศึกษาปัจจัยการเกิดโรค พบว่าขึ้นอยู่กับชนิดมะเฟือง...มะเฟืองเปรี้ยวมีโอกาสเกิดโรคมากกว่ามะเฟือง ชนิดหวาน เนื่องจากมีปริมาณกรดออกซาลิคมากกว่า "ถ้ารับประทานผลสด หรือผลไม้คั้น จะมีโอกาสเกิดโรคมากกว่า แต่ถ้าผ่านการดอง หรือแปรรูปหรือเจือจางในน้ำเชื่อม เช่น...ในน้ำมะเฟืองสำเร็จรูปจะทำให้ปริมาณออกซาเลตลดน้อยลง"

ปริมาณ ที่รับประทาน พบว่าระดับออกซาเลต ที่เป็นพิษต่อร่างกายมีค่าตั้งแต่ 2-30 กรัมของปริมาณออกซาเลต...ผลมะเฟืองเปรี้ยวมีออกซาเลต ประมาณ 0.8 กรัม ในขณะที่มะเฟืองหวานมีออกซาเลต 0.2 กรัม

สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคไต อยู่เดิมอาจมีไตวายเฉียบพลันจากการรับประทานมะเฟืองเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ ระดับความรุนแรงยังขึ้นอยู่กับภาวะพร่องหรือขาดน้ำ

จากการรายงานผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย

หลัง รับประทานมะเฟือง พบว่าผู้ป่วยดื่มน้ำมะเฟืองหลังจากการทำงานหนักหรือสูญเสียเหงื่อมาก จะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคมากขึ้นเนื่องจากผลึกแคลเซียมออกซาเลตจะอิ่มตัวและตก ผลึกง่ายขึ้นในเนื้อไต

ในผู้ที่มีไตเรื้อรังอยู่ก่อนโดยเฉพาะ ผู้ที่ไตวายต้องล้างไตแล้ว มะเฟืองมีผล
ต่อ ระบบประสาทด้วย มีรายงานในผู้ป่วยกว่า 50รายทั่วโลก...มะเฟืองอาจมีสารที่เป็นพิษกับระบบประสาท ซึ่งผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไปจากการที ่สมองบวมจากการที่มีผลึกนิ่วออกซาเลตไปเกาะสมอง หรือการที่มะเฟืองมีสารพิษอื่นที่กระตุ้นสมอง

สารพิษต่อสมองนี้จะ สะสมในภาวะไตวาย ดังนั้น...การเกิดพิษลักษณะนี้พบได้น้อยมาก ในคนปกติและผู้ป่วยมักต้องรับประทานผลมะเฟืองเป็นจำนวนมาก"ผู้ป่วยไตวายอาจ มีอาการทางสมองหลังรับประทานมะเฟืองทั้งชนิดหวานและชนิดเปรี้ยว เพียง...หนึ่งผล

อาการ...มักเริ่มไม่กี่ชั่วโมงหลังรับประทานมะเฟือง โดยผู้ป่วย
จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน สะอึก ตามด้วยภาวะซึมหรือชัก
ผู้ ป่วยส่วนใหญ่จะดีขึ้นหลังหยุดรับประทานมะเฟือง หลังการล้างไตเพื่อเอาพิษมะเฟืองออก...อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตหลังรับประทานมะเฟือง"

น่าสนใจที่ว่า ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยได้ยินข่าวผู้ป่วยจากพิษมะเฟือง เป็นไปได้ ว่าที่ผ่านมามะเฟืองไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก
ผลผลิตมะเฟืองในแต่ละปีก็มีจำนวนไม่มากอย่างผลไม้อื่นๆ คน
ส่วนใหญ่จะรับประทานในปริมาณน้อย และไม่รับประทานมะเฟืองเปรี้ยว

แต่ ในช่วงหลังๆมานี้...ได้มีบทความแพร่ทางสื่อออนไลน์ชวนให้รับประทานมะเฟืองสด โดยชี้แนะประโยชน์ทางสุขภาพ เช่น ลดน้ำตาลในเลือดหรือช่วยรักษาโรคอื่นๆ จึงอาจทำให้มีคนเชื่อ หันมาบริโภคมะเฟืองกันมากขึ้น

ปัจจุบันยัง ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ระบุชัดเจนถึงประโยชน์ของ มะเฟือง ดังนั้น จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังมะเฟืองสดเป็นผลไม้ที่น่าจะเกิดโทษกับผู้ที่รับ ประทานมากเกินกว่าที่ร่างกาย จะทำลายพิษได้

และ...ขึ้นอยู่กับสุขภาพ ของผู้บริโภคที่มีความ เสี่ยง ต่อภาวะไตวาย ผู้บริโภคสุขภาพปกติทานได้แต่ในปริมาณไม่มาก...ผู้ป่ วยที่มีนิ่วในไตควรหลีกเลี่ยง...โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีไตเสื่อม หรือมีความเสี่ยงต่อโรคไต
ห้ามทานมะเฟืองทั้งเปรี้ยวและหวานเด็ดขาด

คุณ หมอชาครีย์ย้ำทิ้งท้ายว่า โรคไตมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ผู้รักสุขภาพควรเอาใจใส่ต่อโภชนาการที่เหมาะสม
และตรวจสุขภาพไตเป็นประจำทุกปี.

ขอขอบคุณ Forward Mail




คลิ๊ก !!!!! อ่านบทความ หรือหนังสือดี ๆเพิ่มเติม ด้านล่างนี้
สำนักพิมพ์โฟกัส
โรคข้อเข่าเสื่อม
น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ




ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Health Plus)

ผู้ใหญ่โดยทั่วไปต้องการเวลา 7-8 ชั่วโมง สำหรับการนอนหลับสนิท ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีอื่นใดที่จะสามารถทดแทนวิธีการนอนหลับสนิทได้ เพราะชีวเคมีในร่างกายของเราต้องการการนอนหลับอย่างเต็มที่ และการนอนหลับโดยปราศจากการรบกวนเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการฟื้นฟูที่มี ประสิทธิภาพสูงสุด

แต่สังคมสมัยใหม่ทำให้ช่วยเวลาในการปฏิบัติการกิจยาวแต่ละวันยาวนานขึ้น และเปลี่ยนระบบเวลากลางวัน-กลางคืนของร่างกายเรา

นอกจากนี้ร่างกายยังต้องรับแรงกดดันที่จะต้องมีการเรียนรู้ การเข้าสังคม การออกกำลังกายที่ การเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นการดูหนังทีวีซีรีส์เรื่องล่าสุดและการทำกิจกรรมอื่นๆ ภายในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ทำให้เวลาในการนอนของเราลดลง

อาการผิดปกติของการนอนไม่หลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจ (หลังลิ้น) ระหว่างหลับ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการหายใจ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการการกรน ภาวะหายใจลำบาก หายใจเฮือกและสำลักกรน การตีบตันของทางเดินหายใจ ทำให้ต้องใช้แรงหายใจมากขึ้น นำไปสู่การหายใจที่ไม่สม่ำเสมอ และทำให้ผู้ป่วยไม่ได้พักผ่อนระหว่างการนอนในช่วงเวลากลางคืน

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับยังเป็นสาเหตุของการปวดศีรษะ สมาธิสั้น การสูญเสียความทรงจำ การใช้วิจารณญาณที่ผิดพลาด และการเซื่องซึมหรือง่วงนอน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับสามารถทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดในสมอง หากไม่ได้รับการบำบัดรักษา

ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมีอาการหยุดหายใจซ้ำๆ ระหว่างการนอนหลับ เนื่องจากทางเดินหายใจด้านบนถูกอุดกั้น การตีบตันของทางเดินหายใจอาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ ลิ้นที่มีขนาดใหญ่ เนื้อเยื่อพิเศษหรือความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่คล้อยลงไปอุดกั้นการเปิดของ ทางเดินหายใจ

การหยุดหายใจในแต่ละครั้งอาจมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 2-3 วินาที จนถึงหลายๆ นาทีและอาจจะเกิดขึ้น 5 ถึง 30 ครั้งหรือมากกว่าในแต่ละชั่วโมง การหยุดหายใจนี้จะทำให้หัวใจทำงานหนัก และนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงหลายโรค (ข้อมูลจากกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์ของอเมริกา (NIH), 2009)

อาการ

กรนเสียงดังและมีลักษณะติดขัด

หายใจเฮือกหรือสำลักกรนระหว่างนอน

นอนหลับในช่วงกลางวันมากเกินไป

อาการอย่างอื่นของภาวการณ์หยุดหายใจ ขณะนอนหลับอาจรวมถึง

ปวดศีรษะในตอนเช้า

ปัญหาเรื่องความจำหรือการเรียนรู้

รู้สึกหงุดหงิด

ไม่สามารถมีสมาธิในการทำงานได้

อารมณ์แปรปรวนหรือมีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพ บางทีรู้สึกซึมเศร้า

คอแห้งขณะตื่น

ปวดปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน

ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับอาจความเสี่ยงทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดในสมอง โรคอ้วน และโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจล้มเหลวหรือทำให้อาการแย่ลง จังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ และมีโอกาสที่จะประสบอุบัติเหตุในที่ทำงานหรือจากการขับขี่มากขึ้น (ข้อมูลจากกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์ของอเมริกา (NIH), 2009)

ผลกระทบ

มีการประเมินว่า ชาวอเมริกันได้รับผลกระทบจากภาวะการนอนหลับผิดปกติ อาทิ การทำงานอย่างไม่มีประสิทธิผล สูญเสียค่ารักษาพยาบาล การลาป่วย และส่งผลกระทบถึงความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพย์สิน มีมูลคำว่า 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในแต่ละปี

ในภาวการณ์นอนหลับผิดปกติ สถานการณ์การเกิดภาวะออกซิเจนลดลงเป็นพักๆ และในขณะเดียวกันร่างกายไม่ได้มีการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนความเครียด ฮอร์โมนนี้ทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น และมีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดในสมอง อัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอรวมถึงภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่ไม่ได้รับการรักษาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของกระบวนการเผาผลาญอาหาร (Metabolism) เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคอ้วนและเบาหวาน

การลดลงของระดับออกซิเจนในเลือดแม้เพียงในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นสาเหตุทำให้เกิดการปวดศีรษะในตอนเช้า และมีสมาธิในการทำงานสั้นลง และยังส่งผลถึงการไม่สามารถใช้วิจารณญาณอย่างเหมาะสม ความสามารถในการเรียนรู้และความจำลดลง

การง่วงนอนนำไปสู่ปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรม รวมทั้งโรคซึมเศร้า และผู้ที่เป็นโรคนี้จะง่วงนอนมากกว่าคนปกติ 3 เท่า ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนหรือที่ทำงานมากขึ้น

สำนักงานความปลอดภัยบนทางหลวงแห่งชาติ (The National Highway traffic Safety Administration) ประเมินว่า การเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนกันประมาณ 100,000 รายในแต่ละปี โดยจากการรายงานของตำรวจอุบัติเหตุเกิดขึ้นเกิดผู้ขับขี่ที่ง่วงนอน ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 รายและผู้บาดเจ็บอีกกว่า 71,000 ราย

ใครคือผู้ที่มีความเสี่ยง

ทุกคนมีความเสี่ยงที่จะประสบกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ การหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับสามารถเกิดได้ทั้งใน เพศชาย เพศหญิง และเด็กในทุกๆ วัย

ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โดยทั่วไปไม่ได้ตระหนักว่าเกิดการหยุดหายใจในช่วงเวลากลางคืน

มีการประเมินว่าผู้ใหญ่ชาวอเมริกันกว่า 12 ล้านคนมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับทำให้โรคดังกล่าวกลายเป็นโรคที่เป็นกันทั่ว ไป เช่นเดียวกับโรคหอบหืด

กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจ ขณะนอนหลับมีน้ำหนักมากเกินไป

พบมากในเพศชาย

กว่า 1 ใน 25 ชายวัยกลางคนและ 1 ใน 50 หญิงวัยกลางคนมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของเด็กและ 10 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่าของผู้ใหญ่ที่มีอายุเกิน 65 ปี มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

พบภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้อย่างแพร่หลายในชาวแอฟริกัน อเมริกัน เอเชีย คนพื้นเมืองอเมริกันและชาว ฮิสพานิก (Hispanics) กว่าชาวผิวขาว (คอเคเซียน)

การวินิจฉัยโรค

พูดคุยปัญหาการนอนและอาการกับแพทย์ ถ้าแพทย์สงสัยว่าคุณมีความผิดปกติด้านการนอน แพทย์จะแนะนำคุณให้ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนเพื่อตรวจวินิจฉัย

การศึกษาด้านการวินิจฉัยโรคการนอนในช่วงเวลากลางคืนหรือที่เรียกว่า โพลีโซมโนแกรม (polysomnogram) หรือ (PSG) ถูกนำมาใช้ในการกำหนดชนิดและความรุนแรงของความผิดปกติของการนอนและการรักษา ที่เหมาะสมจากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเกิดการหยุดหายใจ การละดุ้งตื่นบ่อยครั้งระหว่างหลับและระดับออกซิเจนในเลือดมีการลดลง

การบำบัดรักษา

การรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกต่อเนื่อง Continuous Positive Airway Pressure (CPAP) เป็นวิธีการบำบัดรักษาด้วยแรงดันบวกทางเดินหายใจ (PAP) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด และเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษาการหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้น ขณะนอนหลับ (OSA)

การรักษาทำโดยการปล่อยแรงดันอากาศแบบเบาเข้าจมูกผ่านหน้ากาก

แรงดันอากาศป้องกันการตีบตันของทางเดินหายใจ ทำให้หายใจได้อย่างอิสระระหว่างการนอน

การรักษาแบบไม่ต้องต่อท่อกับเครื่องช่วยหายใจ (Noninvasive therapy) สามารถบรรเทาอาการภาวการณ์หยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นเมื่อใช้ตามคำ สั่งแพทย์

วิธีการบำบัดรักษาอื่นๆ รวมถึง

การผ่าตัด

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์/พฤติกรรม

ข้อดีดีของการรักษาเป็นประจำ

ลดผลกระทบของการหยุดหายใจจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นขณะนอนหลับ

การใช้การบำบัดรักษาด้วยแรงดันบวกทางเดินหายใจ (PAP) ในช่วงเวลากลางคืนเป็นประจำ มีข้อดี

พลังงานและความสนใจระหว่างวันเพิ่มขึ้น

ความดันโลหิตลดลง

ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดในสมอและหัวใจวายลดลง

มีประสิทธิภาพในการทำงานทั้งที่บ้านและที่ทำงานเพิ่มขึ้น

คุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้น

ขอขอบคุณ http://www.kapook.com


แนะนำบทความ หรือหนังสือดี ๆ ให้ทราบ

สำนักพิมพ์โฟกัส
โรคข้อเข่าเสื่อม
น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว